หมากล้อมกับการพัฒนาสมองสองซีก หมากล้อมเป็นเกมที่รวมทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันจุดมุ่งหมายของหมากล้อมคือพื้นที่ นั่นก็คือผู้เล่นต้องคำนวณแต้มเพื่อให้มีพื้นที่มากกว่าคู่แข่ง และคิดวางแผนกลยุทธ์การเดินหมากแต่ละตาไว้ล่วงหน้าให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ใช้หลักเหตุและผล อันเป็นการใช้สมองซีกซ้ายแล้วหมากล้อมยังให้อิสระกับผู้เล่นในการเดินอย่างเต็มที่ ต้องใช้จินตนาการในการสร้างรูปแบบหมาก วางแผนให้หมากแต่ละส่วนทำหน้าที่ได้อย่างสอดคล้องกันทั่วทั้งกระดาน อันจะต้องใช้สมองซีกขวาด้วย
(เพิ่มเติม…)หมากล้อมสอนให้ยอมรับความพ่ายแพ้
บทความจาก ไทยโพสต์ 2 ตุลาคม 2553
มีโอกาสเหินฟ้าตามอาศรมสยาม-จีนวิทยา บมจ. ซีพี ออลล์ ไปดูการแข่งขันหมากล้อมจีนโลก ชิงถ้วยเหยียนหวงเปย์ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน (ปีอะไร?) ณ เมืองเซ่าซิง มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน งานนี้มีทั้งคนไทยและชาวจีนจากทั่วโลกกว่า 80 คน เข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าการแข่งขันในครั้งนี้คนไทยติดอันดับที่ 8 เห็นภาพตรงหน้าที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนหน้าตาเคร่งเครียด ตาจดจ้องอยู่ที่หมากหินสีขาวดำในกระดาน นานๆ ทีจะยกถ้วยชาขึ้นมาจิบแก้คอแห้ง ทำให้อดสงวัยไม่ได้ว่าหมากเกมนี้มันสนุกตรไหน ถึงทำให้ผู้คนในอีกหลายประเทศนิยมเล่น ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฯลฯ
โยนคำถามกลับไปให้โต้โผใหญ่ของงานอย่าง นายก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานสมาคมหมากล้อมจีนโลก นายกสมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย และอาศรมสยาม-จีนวิทยา ช่วยไขข้อข้องใจให้ได้ความว่า
ความสนุกของกีฬาหมากกระดานชนิดนี้อยู่ที่การได้ฝึกสมอง ฝึกสมาธิ และเป็นเกมที่ต้องใช้จินตนาการมองภาพรวมการวางหมากทั้งกระดาน ไม่ใช่มองแค่หมากที่เดินเท่านั้น ดังนั้น ผู้เล่นจึงต้องเพ่งสมาธิไปที่หมากทั้งกระดาน ที่สำคัญหัวใจหลักของเกมนี้คือ ชัยชนะไม่ได้มาจากความพ่ายแพ้ของผู้อื่น เพราะหมากล้อมสอนให้ยอมรับความพ่ายแพ้ และความพ่ายแพ้สอนให้รู้จักพัฒนาตนเอง อีกทั้งยังช่วยฝึกฝนในด้านจิตใจได้เป็นอย่างดี เท่ากับว่าหมากล้อมเป็นกีฬาสร้างมิตรภาพที่ดี โดยผู้เล่นจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
หมากล้อม หรือโกะ มีต้นกำเนิดที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อกว่า 3,000 ปี มาแล้ว โดยถือเป็นศิลปะหนึ่งในสี่แขนงของจีน ได้แก่ การดีดพิณ หมากล้อม การเขียนพู่กันและการวาดรูป นอกจากจะเป็นศิปละแล้ว หมากล้อมยังครอบคลุมถึงศาสตร์แขนงต่างๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ เช่น ยุทธศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญาและนวคิดในการบริหารจัดการ ศิลปะการชิงชัย
โดย คุณ หัว หยี่ กัง
หมากล้อม เป็นเกมที่มีหลายสนามรบเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน การมุ่งเอาชนะจึงมักจะชะในระยะสั้นหรือสนามรบเดียว แต่ไปแพ้ในหลายสนามจนส่งผลให้แพ้ทั้งกระดาน หรือแพ้สงครามในที่สุด การเอาชะจึงกลายเป็นต้นเหตุของความพ่ายแพ้ “ชนะได้เพราะไม่คิดเอาชนะ” เราไม่สนให้คุณเป็นผู้ชนะ แต่เราสอนให้คุณเป็นผู้ไม่แพ้
จากหนังสือ “เรียนรู้จากผู้แพ้” ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ CEO 7-ELEVEN
นาย วิชญ์ฤทธิ์ คฤหวาณิช หรือ น้องแม็ค เป็นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งชื่นชอบในกีฬาหมากล้อมและเล่นมาตั้งแต่ยังเด็ก
อาจารย์ติ๊ผู้สอนน้องเแม็คมาตั้งแต่เด็ก เปิดเผยให้ทราบว่า
“แม็คเริ่มเล่นหมากล้อมตอน ป.3 ตอนนั้นในชั้นมีคนเล่นเพียงแค่4คน แม็คเป็นเด็กที่ชอบหมากล้อมมาก แต่เล่นแพ้ตลอดไม่ชนะเลย
ด้วยความที่อยากเก่งเมื่อมีงานแข่งแม็คก็ลงแข่งทุกงาน แม้ผลงานแต่ละครั้งในช่วงแรกจะไม่ค่อยดี แต่ด้วยความที่ชอบและตั้งใจเวลามาเรียน ทำให้ฝีมือน้องแม็คค่อยๆพัฒนาไม่เร็วมากแต่มั่นคง”
ซึ่งหลักสำคัญของความเก่งที่น้องแม็คนำไปต่อยอดได้นั้นคือ เรื่องรูปร่างหมากและแนวคิดที่อาจารย์ติ๊ได้เรียนมาถึง2ปีเต็มจากประเทศจีนสำนัก Neiweiping(เนี่ยเว่ยผิง) สำนักที่สอนนักหมากล้อมมือ1ของโลก kejie(เคอเจี๋ย)
(เพิ่มเติม…)